537 Bangkhuntien-Chaytalay Road, Samaedam, Bangkok, Thailand, 10150 +66 2892 0286-9 [email protected]
img

Biodegradable Plastic ทางเลือกใหม่ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

img

Biodegradable Plastic ทางเลือกใหม่ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

พลาสติกเป็นวัสดุที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายมานาน เพราะใช้งานง่าย อำนวยความสะดวกสบายให้ผู้ใช้งาน และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ พลาสติกจึงถูกใช้แล้วทิ้งทุกวัน มีทั้งถุงพลาสติกซึ่งมีปริมาณมากที่สุด รองลงมาจะเป็นขวดพลาสติก หลอดพลาสติก ฝาขวดพลาสติก และภาชนะบรรจุอาหาร 

ปัจจุบันจึงมีปัญหาจากขยะพลาสติกเกิดขึ้นทั่วโลก โดยตัวเลขของขยะพลาสติกนั้นสูงถึง 8.3 พันล้านตัน และกำลังส่งกระทบกับระบบนิเวศต่าง ๆ ทั้งบนบกและในน้ำอย่างสาหัส เป็นเพราะพลาสติกนั้นไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติเนื่องจากเป็นสารสังเคราะห์ อาจใช้เวลาเป็นร้อย ๆ ปีในการย่อยสลาย หากทำลายด้วยการเผาก็จะยิ่งก่อมลภาวะและสารพิษในอากาศ ซึ่งเป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกทั้งมนุษย์และสัตว์

หลายฝ่ายตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก จึงได้ช่วยกันหาทางออกของปัญหา โดยการคิดค้นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ นั่นคือพลาสติกชีวภาพ หรือ Biodegradable Plastic ซึ่งมีส่วนประกอบจากธรรมชาติมาสังเคราะห์ร่วมด้วย เช่น แป้ง ซึ่งมาจากพืชจำพวก ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ มันสำปะหลัง และโปรตีนจากถั่ว ทำให้สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ ช่วยลดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม

โดยระยะเวลาการย่อยสลายของพลาสติกชีวภาพนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดขององค์ประกอบ หากมีสารสังเคราะห์มาจากออร์แกนิกเป็นส่วนประกอบทั้งหมด เช่น แป้งหรือน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ จะย่อยสลายได้ง่าย บางชนิดอาจใช้เวลาเพียง 6 เดือนจนไปถึง 24 เดือน พลาสติกชีวภาพสามารถแบ่งการย่อยสลายออกเป็น 2 ประเภทหลัก โดยแบ่งตามวัตถุดิบตั้งต้น คือ 

  1. พลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี พบได้ในแป้ง เซลลูโลส ไม้ หรือสารที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมมาใช้ เช่น มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน และเบนซีน พลาสติกในกลุ่มนี้เมื่อย่อยสลายแล้ว อาจจะยังเหลือสารตกค้างบ้าง เช่น กากชีวมวล หรือกลุ่มแก๊สต่าง ๆ เพราะมีสารตั้งต้นจากปิโตรเลียม
  1. พลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบมวลชีวภาพ เช่น แป้งจากมันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด โฮลวีท ข้าวโพด ข้าวสาลี และน้ำมันจากพืชต่าง ๆ กลุ่มนี้จะสามารถย่อยสลายได้ดีกว่าประเภทแรก และไม่มีสารตกค้าง

นอกจากนี้ด้วยการการค้นคว้าและวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทำให้พบสารสังเคราะห์ออร์แกนิกเพิ่มจากวัถุดิบอย่างเมล็ดข้าวสาร กล้วย อะโวคาโด้ และสาหร่ายทะเล ที่นำมาผลิตเป็นขวดน้ำชีวภาพ เพื่อสร้างขยะให้กับสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งการใช้พลาสติกชีวภาพนั้นนอกจากจะเป็นการช่วยโลกและรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรทั่วโลก ช่วยลดของเหลือจากการผลิตปิโตรเลียม และช่วยลดมลพิษต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนได้มากถึง 35% 

ปัจจุบันมีการใช้พลาสติกชีวภาพเพิ่มสูงขึ้นกว่า 600% ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมาก และคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 จะมีการใช้พลาสติกชีวภาพเพิ่มขึ้นถึง 60% เพื่อทดแทนการใช้พลาสติกแบบเดิมที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เพราะตอนนี้ความสามารถในการผลิตพลาสติกชีวภาพทั่วโลกในปี 2017 เพิ่มขึ้นถึง 2.05 ล้านตัน เชื่อว่าต่อไปพลาสติกชีวภาพจะเป็นทางออกที่ช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกได้อย่างแน่นอน

docx file PDF